Thursday, January 26, 2017

                                                           
                                                        โครงงานคอมพิวเตอร์

เรื่อง ออกแบบร้านก๋วยเตี๋ยว "ชามเดียว"พุงแตก

จัดทำโดย

นายธนายุทธ  พหรมเทพ  เลขที่ 15
นางสาววรรณสิริ  พัตจุน  เลขที่  21
นางสาวณาตยา นาวานุกูล  เลขที่ 30

ครูที่ปรึกษา
ครูนรดีสร  ละอองวรรณ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/2

โรงเรียนนิรมลชุมพร


      _________________________________________


สื่อการเรียนการสอน ใช้โปรแกรม sketchup
   

sketchup 8 คืออะไร

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโปรแกรม Goole Sketchup กัน เชื่อว่าสำหรับวิศวกร สถาปนิกหรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับงานกราฟฟิค น่าจะเคยใช้งานหรือเคยเห็น เคยได้ยินชื่อโปรแกรมนี้ผ่านหูผ่านตามาบ้าง สำหรับโปรแกรม Google Sketchup 8 นี้จะมีอยู่ 2 เวอร์ชั่นคือ Google Sketchup 8 และ Google SketchupPro 8         ผู้สอนที่จะสอนให้ท่านได้เขียนแบบบ้าน 3มิติได้ด้วยตัวเอง สามารถนำเสนองานของท่านได้ เพราะขั้นตอนการเขียนแบบนั้นผู้สอนได้ใช้งานจริงเป็นประจำทุกครั้งที่ทำงานส่งให้กับลูกค้าทุกท่าน ซึ่งการเรียนการสอนในชุดนี้จะสอนให้ท่านนำไฟล์ Dwg เข้าไปในโปรแกรม Google sketchup 8 การตั้งค่า scale ต่าง ๆ การเตรียมไฟล์แบบบ้าน Dwg เพื่อนำเข้า Sketchup ว่าจริง ๆ แล้วต้องใช้วัตถุแบบไหนในการนำไปเขียนในโปรแกรม 3มิติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับทุกโปรแกรม เรามาเริ่มเรียนกันเลยดีกว่าครับว่าด้วย

ส่วนประกอบของโปรแกรม Sketchup 8

Title Bar (แถบไตเติล)
แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

Menu Bar (แถบเมนู) แถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆในการทำงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้

1. File: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น
2. Edit: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้าง Group/Component
3. View: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำงานเช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงา หมอก การ แสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component เป็นต้น
4. Camera: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทำงานเช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น
5. Draw: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง โค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม
6. Tools: เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงานเช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น
7. Window: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทำงานและปรับแต่งค่าต่างๆของโปรแกรม
8. Help: เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต

Toolbars (แถบเครื่องมือ)
แถบสำหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆในการทำงาน โดยในขั้นต้นโปรแกรมจะกำหนดแถบเครื่องมือมาให้กลุ่มเดียว (จาก 20 กลุ่ม) คือ Getting Start ซึ่งในการทำงานจริงเครื่องมือเพียงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อการทำงาน เราสามารถที่จะเรียกแสดงแถบเครื่องมือกลุ่มต่างๆได้จากเมนู View > Toolbars แล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ โดยแถบเครื่องมือที่แสดงอยู่จะมีเครื่องหมายถูกอยู่ที่หน้าคำสั่ง


ทำความรู้จักกับเครื่องมือต่างๆ
 1. Standard Toolbar เป็นทูลบาร์พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องการจัดการแฟ้มข้อมูล การพิมพ์งาน และการตั้งค่ามาตรฐานของโปรแกรม



2. Principle Toolbar เป็นทูลบาร์พื้นฐานสำหรับการเลือก ลบ และกำหนดสีหรือชนิดของวัสดุให้กับชิ้นงาน


3. Drawing Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับเครื่องมือในการขึ้นรูปทรง เส้นสายต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือที่ช่วยในการขึ้นรูป เช่น การวาดรูปสี่เหลี่ยม วาดเส้นตรง วาดรูปวงกลม วาดเส้นโค้ง วาดรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า และวาดเส้นอิสระตามการเคลื่อนที่ของ mouse


4. Modification Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการแก้ไข ดัดแปลงชิ้นงาน เช่น การเคลื่อนย้าย การยืดหดระนาบเดิม การหมุนวัตถุ สร้างการยืดระนาบตามเส้นขอบ การย่อขยายวัตถุ และการสร้างระนาบคู่ขนาน ตามลำดับ

5. Construction Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการเขียนเส้นบอกระยะ และตัวอักษรประกอบ เช่น การวัดความยาวของโมเดล การระบุความยาวให้กับโมเดล การวัดมุมของโมเดล การสร้างตัวอักษรและคำบรรยาย การย้ายตำแหน่งและหมุนแกนหลัก และการสร้างตัวอักษร 3 มิติ

6. Camera Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการกำหนดมุมมอง การเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ในโมเดล เช่น การหมุนโมเดล การเลื่อนมุมมองการทำงาน ซูมเข้า-ออกมุมมองการทำงาน

7. Walkthrough Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งการมอง การเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในโมเดล เช่น การปรับมุมมองบนจอภาพให้เห็นพื้นที่ที่ผู้ใช้ต้องการกำหนดจุดมอง และเป้าหมาย การมองไปรอบ ๆ จุดมอง การเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ และการสร้างแนวตัด



8. Display Modes Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการควบคุมการแสดงผลของชิ้นงานบนระนาบ เช่น การแดงผลแบบโปร่งแสง ไม่มีการแสดงระนาบใด ๆ(แสดงเฉพาะเส้นขอบของชิ้นงานเท่านั้น) การแสดงระนาบทึบทั้งหมด การแสดงราบด้วยสีต่าง ๆ แสดงวัสดุลงไปในพื้นผิว(หากมีการกำหนดวัสดุลงไปในระนาบ) และการแสดงสีบนระนาบเพียง 2 สีสำหรับด้านหน้า และด้านหลัง



9. Views Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับการควบคุมมุมมองมาตรฐานของชิ้นงาน เช่น ด้านบน ด้านข้าง ด้านหน้า เป็นต้น


10. Shadow Toolbar เป็นทูลบาร์สำหรับการควบคุมการแสดงเงา ทั้งในเรื่องของตำแหน่งภูมิศาสตร์ของโมเดล และเวลา เช่น การปรับรายละเอียดและความสว่างของแสงและเงา การสร้าง/ไม่สร้างเงา(สลับกัน) การกำหนดเดือนและเวลา สามารถใช้แถบเลื่อนเพื่อกำหนดเดือน และเวลาที่ต้องการสร้างเงาได้



11.Selection Plane Toolbar เป็นทูลบาร์สำหรับการจัดการการแสดงผลข้อมูลรูปตัดของโมเดล เป็นการวางภาพตัดขวางในลักษณะต่างๆ เพื่อดูและทำงานกับด้านในของโมเดล เช่น การสร้างแนวตัด การยกเลิกการแสดงสัญลักษณ์ และการยกเลิกการตัดชิ้นงาน



หน้าที่ที่ของเครื่องมือต่างๆ




Drawing Area(พื้นที่ทำงาน)  เป็นพื้นที่สำหรับทำงานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทำงานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

Drawing Axes(แกนอ้างอิง)  คือเส้นแกนสำหรับอ้างอิงการทำงานเพื่อให้การวาดรูปทรงและการสร้างแบบจำลองในทิศทางต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำโดยแกนอ้างอิงจะแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกันคือ x จะอยู่ในลักษณะของแนวขวาง (แกนสีแดง), y จะอยู่ในลักษณะของแนวลึก (แกนสีเขียว) และ z จะอยู่ในลักษณะของแนวตั้ง (แกนสีน้ำเงิน)



ตัวอย่างที่ออกแบบร้าน กลุ่มของดิฉันจัดทำ


ขั้นตอนที่ 1  ใช้ Drawing Toolbar เป็นทูลบาร์เกี่ยวกับเครื่องมือในการขึ้นรูปทรง เส้นสายต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือที่ช่วยในการขึ้นรูป เช่น การวาดรูปสี่เหลี่ยม วาดเส้นตรง วาดรูปวงกลม วาดเส้นโค้ง วาดรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า และวาดเส้นอิสระตามการเคลื่อนที่ของ mouse





ขั้นตอนที่ 2  เข้าไปตรง window ตามรูปแล้วกดที่ 3D จะมีรูป3 มิติให้เราเลือกมาออกแบบตามที่เราต้องการได้เลย




ขั้นตอนที่3 ให้เรา เลือกรูปภาพมาใส่ ไม่ว่าจะหาจาก google ก็สามารถโหลดใส่ได้ โดยที่กดไปตามรูปด้านล่าง


เลือกรูปภาพ

                                       
                                                       ขยายรูปให้มีขนาดที่พอดี



 ขั้นตอนที่ 4  ให้เราจัดตกแต่งเลือกสิ่งของตกแต่งภายในร้านได้ตามสบายจ้า 




      _________________________________________
ขอบคุณที่รับชมจ้าาาาาาาาาา